ใบกระท่อม

5 อันดับ สายพันธุ์ใบกระท่อมที่ต้มดีเคี้ยวอร่อย

ใบกระท่อม
5 อันดับ สายพันธุ์ใบกระท่อมที่ต้มดีเคี้ยวอร่อย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ประเทศไทยได้มีการปลดล็อค ใบกระท่อม ออกจากสารเสพติดประเภทที่ 5 กันไปแล้ว จึงทำให้ใครหลายคนที่เป็นสายนี้นั้นต่างดีใจกันมาก ถึงขนาดที่มีการวางจำหน่ายกันตามท้องตลาดให้เห็นกันทั่วไป ซึ่งใบไม้ชนิดนี้นั้นก็มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน 

ใบกระท่อมที่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการต้มดี เคี้ยวอร่อย

วันนี้เราจะมาจัดอันดับสายพันธุ์ ใบกระท่อม ที่ต้มดีเคี้ยวอร่อยกัน ซึ่งเราจะมาแนะนำสายพันธุ์ และการเรียกของแต่ละพื้นที่กันอีกด้วย ในไทยพบได้ 3 สายพันธุ์ด้วยกันก็คือ แตงกวาลักษณะคือ ก้านจะมีเขียว , ยักษ์ษาใหญ่ ลักษณะคือรูปใบใหญ่ , ก้านแดง ลักษณะเหมือนกับชื่อสายพันธุ์ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็เรียกแตกต่างกันไป เช่น ทางภาคเหนือจะเรียกว่าอีด่าง อีแดง กระอ่วม , ภาคใต้จะเรียกว่าท่อม หรือท่ม ส่วน 5 อันดับยอดนิยมที่เราได้นำมาจัดอันดับ มีดังนี้

1.  สายพันธุ์ไทย ใบก้านแดง อันโด่งดัง

ใบกระท่อม
สายพันธุ์ไทย ใบก้านแดง อันโด่งดัง

ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่นิยมในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ในเรื่องต้มดีเคี้ยวอร่อยอย่าง ใบกระท่อม สายพันธุ์ก้านแดง ซึ่งมีพื้นใบสีเขียว ลักษณะก้านใบเป็นสีแดงตามชื่อ แดงมากแดงน้อยแตกต่างกันเล็กน้อย ใบมีขนาดเล็กไม่ใหญ่มาก ปลายใบจะแหลมคล้ายใบโพธิ์ ในส่วนของรสชาตินั้นจะขมเข้มกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ มีรสที่แรงหากกิน หรือเคี้ยวจะมีฤทธิ์ที่แรงมากกว่าเดิม มากกว่าสายพันธุ์อื่น และยังยาวนานมากกว่า 30 นาทีอีกด้วย ซึ่งอาจจะทำให้มีอาการปวดหัวที่หนัก และรุนแรง จึงนิยมนำมาต้มกินกันมากกว่า 

2.  สายพันธุ์ไทยอีกสายพันธุ์หนึ่ง ใบกระท่อมแตงกวา

ใบกระท่อม
สายพันธุ์ไทยอีกสายพันธุ์หนึ่ง ใบกระท่อมแตงกวา

ลักษณะของกระท่อมแตงกวานั้นจะมีก้าน และใบสีเขียว แต่เส้นใบนั้นจะมีสีเขียวที่อ่อนกว่าแผ่นใบ ในส่วนของใบนั้นใหญ่ และเรียวยาว ผิวหยาบใบนิ่ม ปลายใบแหลมเหมือนใบโพธิ์ ซึ่งสายพันธุ์ใบท่อมแตงกวาภาคใต้นั้นจะมีก้านใบที่เรียวกว่า บางยาวจนคล้ายใบมะม่วง ตัวใบจะหยาบ และนิ่มหน่อย ๆ สายพันธุ์แตงกวาภาคกลาง หรือในบางพื้นที่จะเรียกว่ากาละเด่น ลักษณะใบจะป้อมกว่า ใบจะมัน ๆ แข็ง ๆ กว่า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่หาได้ง่ายในประเทศไทย จึงเป็นสายพันธุ์ใบท่อมที่ต้มดีเคี้ยวอร่อยอีกหนึ่งสายพันธุ์

3.  สายพันธุ์เหรียญทอง สายพันธุ์แท้ของภาคกลาง

ใบกระท่อม
สายพันธุ์เหรียญทอง สายพันธุ์แท้ของภาคกลาง

อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากภาคกลาง และเป็นที่นิยมสูงมาก สำหรับใครที่ชอบเคี้ยวใบนั้นสายพันธุ์นี้ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ดีต่อการเคี้ยวสดเป็นอย่างมาก หรือใครที่ชอบต้มก็ทำได้เช่นกัน ในส่วนของลักษณะใบนั้นจะมีขนาดที่ใหญ่ปานกลาง ใบบางอ้วน ปลายแหลม ก้านของใบนั้นจะออกเป็นสีเหลืองปนเขียว ใบสายพันธุ์จะกรอบกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และมีกลิ่นที่หอมในตอนต้ม แต่สีของน้ำกระท่อมสายพันธุ์เหรียญทองนี้จะมีสีเหมือนน้ำอ้อย

4.  สายพันธุ์แมงดา หรือสายพันธุ์หางกั้ง

ใบกระท่อม
สายพันธุ์แมงดา หรือสายพันธุ์หางกั้ง

สายพันธุ์กระท่อมนี้เป็นสายพันธุ์ที่สามารถเก็บรักษาได้นานที่สุด และยังเป็นสายพันธุ์ของประเทศไทยทางภาคใต้ และภาคกลางอีกด้วย สำหรับทางภาคกลางจะเรียกว่าแมงดา ส่วนทางภาคใต้จะเรียกว่าหางกั้ง ซึ่งมีรสชาติที่ฝาดขมน้อยกำลังดี และยังมีกลิ่นของใบเวลาต้ม จึงสามารถนำมาต้มก็ดีเคี้ยวก็อร่อย ในส่วนของลักษณะใบนั้นจะหนา และมีหางคล้ายหางกั้ง มีตั้งแต่ 3 หางจนถึง 9 หาง แล้วแต่ความสมบูรณ์ของต้นกระท่อม ส่วนตัวก้านนั้นจะมีทั้งสีเขียว และสีแดง แต่ก้านสีแดงนั้นหาได้ยากกว่าก้านสีเขียว

5.  สายพันธุ์กลาย จำนวนก้านน้อยกว่า 12

ใบกระท่อม
สายพันธุ์กลาย จำนวนก้านน้อยกว่า 12

หลายคนมักบอกว่ากระท่อมกลายนั้นเป็นกระทุ่ม แต่ความจริงแล้วผิดนะครับ ถึงจะมีความคล้ายกันมาก แต่มีฤทธิ์แตกต่างกัน รสชาติของกระท่อมกลายนั้นจะมีรสชาติที่ฝาด ซึ่งไม่ค่อยเหมือนกันกับสายพันธุ์อื่นที่มีรสชาติที่ขม และยางมันน้อยกว่า ถ้าอยากจะแยกให้ออกว่ากระท่อมกลายนั้นจริงหรือเปล่า ต้องดูที่จำนวนก้านใบ ถ้ามีจำนวนไม่ถึง 12 คือสายพันธุ์กลาย

Share To :

Facebook
Twitter
Pinterest
Email