แฮกเกอร์

5 อันดับ แฮกเกอร์ อันตรายที่สุดในโลก !!

แฮกเกอร์
5 อันดับ แฮกเกอร์ อันตรายที่สุดในโลก !!

คุณรู้จักแฮกเกอร์ดีแค่ไหน ? หากเปรียบข้อมูลในคอมพิวเตอร์เป็นของมีค่า หรือก็คือหัวขโมยดี ๆ นี่เอง นับว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ อย่างชำนาญ สามารถรู้ช่องโหว่ของระบบต่าง ๆ และมองหาผลประโยชน์จากช่องโหว่นั้นในการสร้างผลประโยชน์ต่อตนเอง และพวกพ้อง แต่ไม่ได้มีแค่สายเทาแบบที่เราได้ยินในข่าวเท่านั้นนะคะ จะมีสายไหนบ้าง วันนี้เราพาทุกคนมาทำความรู้จักกับพวกเขาเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งสาระน่ารู้และความรู้อีกมากมาย ไปดูกันเลยค่ะ

แฮกเกอร์ คืออะไร ?

แฮกเกอร์ (HACKER) คือ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการแก้ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ในระบบข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยใช้ทักษะ และความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยแก้ไขปัญหา โดยทั่วไปแล้วผู้คนมักจะมองนิยามของพวกเขาในด้านลบ แต่แท้จริงแล้วก็เป็นทีมซัพพอร์ตป้องกันการถูกขโมยข้อมูลของนักโจรกรรมทางไซเบอร์ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ไม่ได้มีความหมายเฉพาะเชิงลบเท่านั้น

แฮกเกอร์
5 อันดับ แฮกเกอร์ อันตรายที่สุดในโลก !!

เป้าหมายของ HACKER คือ อะไร ?

หากเป็นแฮกเกอร์สายเทาแน่นอนว่าวัตถุประสงค์ของเขาเหล่านั้น คือ การประสงค์ร้าย มุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลอันล้ำค่า เพื่อผลตอบแทนที่เขาก็ต้องก็คือ เงินจำนวนมหาศาลจากเป้าหมายของ HACKER คือ องค์กรชั้นนำต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง บุคคลที่มีฐานะ บุคคลที่มีชื่อเสียง สถาบันการเงิน เพราะเป้าหมายเหล่านี้มีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะสามารถจ่ายค่าตอบแทน เพื่อแลกกับการไม่ให้ข้อมูลของตนเอง หรือองค์ถูกโจรกรรมข้อมูลไป เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้นมีมูลค่า และมีความสำคัญกับองค์กร หรือมีผลต่อชื่อเสียงของบุคคลเหล่านั้น 

HACKER มีกี่ประเภท ?

HACKER มีทั้งหมด 2 ประเภท หลัก ได้แก่ 1.แฮกเกอร์สายขาว ระเภทนี้จะมีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งมักจะทำหน้าที่หาจุดอ่อน หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อหาช่องทางในการป้องกันช่องโหว่นั้น 2.สายเทา ประเภทนี้ จัดอยู่ในข่ายของอาชญากรไซเบอร์ เนื่องจาก พวกเขาจะใช้ความรู้ ความสามารถที่มีไปในทางที่ผิด โดยจะทำการเจาะข้อมูลเข้าไปในระบบ โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีจุดประสงค์ในการทำลายข้อมูลนั้น ซึ่งวิธีการทำลายก็มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบเครือข่าย ส่งผลให้เจ้าของระบบต้องจ่ายค่าทำลายไวรัสในมูลค่าจำนวนมหาศาล หรือการทำลายชื่อเสียง

แฮกเกอร์
5 อันดับ แฮกเกอร์ อันตรายที่สุดในโลก !!

โดนแฮก FACEBOOK ทำอย่างไรดี ?

สำหรับใครที่เข้า FACEBOOK ไม่ได้ หรือโดนแฮก FACEBOOK โดยเหล่าแฮกเกอร์ มีวิธีแก้โดยการไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ พร้อมรวบรวมเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ที่เคยใช้งานบัญชี FACEBOOK นั้นให้ครบถ้วน เพื่อเป็นการยืนยันเป็นหลักฐานว่าเราไม่ได้ใช้บัญชีนี้อีกต่อไป และเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันอีกชั้นนั้นเองว่าเรามิใช่เป็นผู้กระทำความผิด

ANONYMOUS HACKER คืออะไร ?

ANONYMOUS หรือ ISIS บนสมรภูมิไซเบอร์ เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ชายชุดดำที่สวมชุดดำภายใต้หน้ากากสีขาว เป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวกลุ่ม ANONYMOUS หรือกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ระดับโลก พวกเขาจะปรากฏตัวขึ้นทุกครั้งหลังจากที่สงครามบนโลกไซเบอร์ได้ถูกประกาศขึ้น พวกเขาได้ประกาศศึกบนโลกไวเบอร์กับองค์กรต่าง ๆ และประเทศต่าง ๆ มาแล้วทั่วโลก โดยการขโมยข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ และทำการปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ หรือแม้แต่การเจาะฐานข้อมูล และเผยแผ่ให้แก่ประชาชนบนโลกอินเทอร์เน็ต วัตถุประสงค์หลักของพวกเขาคือ การโจมตีข้อมูล และระบบปฏิบัติการของประเทศที่มีการลิดรอนสิทธิ และเสรีภาพประชาชน

5 อันดับ แฮกเกอร์ มือมืดโจรกรรมทางไซเบอร์ ที่อันตรายที่สุดในโลก !!

1.  โจนาธาน เจมส์

แฮกเกอร์
โจนาธาน เจมส์

มาเริ่มกันที่มือวางอันดับ 1 ของแฮกเกอร์สายเทา อย่าง โจนาธานต์ เจมส์ หนุ่มคนนี้เริ่มก่อคดีตั้งแต่อายุได้ 15 ปี ด้วยการเข้าไปขโมยข้อมูลในเครือข่ายขององค์กรนาซ่า และดาวน์โหลดโค้ชออกมา เพื่อทำการดูว่าสถานีอวกาศทำงานกันอย่างไร ทำให้นาซ่าต้องปิดระบบเครือข่ายถึง 3 สัปดาห์ มีค่าเสียหายถึง 96 ล้านบาท และเขายังแฮกเข้าไปในระบบของโทรคมนาคมชั้นนำอย่างบิลเซาท์ ไปจนถึงระบบข้อมูลของหน่วยงานป้องกันภัยคุกคามในกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ 

2.  จูเลียน แอสซานจ์ 

แฮกเกอร์
จูเลียน แอสซานจ์

จูเลียน แอสซานจ์ เขาคนนี้เริ่มก่อคดีโดยเป็นแฮกเกอร์ตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยทำการเข้าไปขโมยข้อมูลในระบบข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรต่าง ๆ รวมไปถึงอาคารเพนทากอน ของกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา องค์การนาซ่า CITY BANK , มหาวิทยาลัย STAMPFORD และยังนำข้อมูลเหล่านั้นมาเผยแพร่ยังเว็บไซต์วิกิลีกซ์อันเป็นความลับของหน่วยงานของภาครัฐ และนิติบุคคล โดยมิได้มีการระบุตัวตนอีกด้วย 

3.  เอเดรียน ลาโม่

แฮกเกอร์
เอเดรียน ลาโม่

เอเดรียน ลาโม่หนุ่มคนนี้จัดว่าเป็นแฮกเกอร์สายเทาที่แท้ทรู เขามีชื่อเสียงมาจากการรายงานข่าวกรองที่รั่วไหลทางรัฐบาลสหรัฐ เขาได้ก่อเหตุด้วยการแฮกข้อมูลเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ THE NEWTORK TIME และ MICROSOFT YAHOO เพื่อเข้าไปแก้ไขบทความของสำนักข่าวรอยเตอร์ มากไปกว่านั้นยังทำการแฮกข้อมูลของผู้เขียนบทความบนเว็บไซต์ THE TIME รวมถึงเพิ่มชื่อของตัวเองในฐานข้อมูลให้ดูมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย 

4.  แกรี แมกคินนอน

แฮกเกอร์
แกรี แมกคินนอน

จุดเริ่มต้นในการเป็นแฮกเกอร์ของ แกรี แมกคินนอน เริ่มจากการอยากรู้ว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือ UFO มีอยู่จริงหรือไม่ เขาเลยทำการแฮกเข้าไปในระบบขององค์กรนาซ่า และยังลักลอบเข้าไปขโมยข้อมูลของรัฐบาล และ 3 เหล่าทัพของสหรัฐอเมริกาจำนวนมากกว่า 75,000 เครื่อง ส่งผลให้ระบบหยุดการทำงาน ทำให้ทางรัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการแก้ไขระบบเป็นเงินทั้งสิ้น 22.4 ล้านบาท

5.  เควิน พัลเซ่น

แฮกเกอร์
เควิน พัลเซ่น

เควิน พัลเซ่น แฮกเกอร์หนุ่มคนนี้เขาทำการแฮกข้อมูลของกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา และสถานกงสุลต่างประเทศในลอสแองเจอลิส โดยที่ทางรัฐจับไม่ได้เลยสักครั้ง ต่อมาเขาได้เข้าทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ และที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ของเพนตากอน รัฐบาลเกิดความสงสัยว่าเขาเป็นแฮกเกอร์จึงออกประกาศจับ ยังไม่พอเขายังเข้าไปทำการแฮกข้อมูลของ FBI คอมพิวเตอร์รัฐบาลกลาง และสหภาพเสรีภาพพลเรือนอเมริกันอีกด้วย สุดท้ายโดนจับในข้อหาฉ้อโกง และคดีฟอกเงิน จำคุกนานถึง 5 ปี

กฎหมายไทย หน่วยงานป้องกัน และปราบปรามภัยอาชญากรรมทางไซเบอร์

เนื่องจากไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่ถูกภัยคุกคามทางไซเบอร์มากที่สุดในอาเซียน แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูล หรือสิทธิส่วนบุคคลโดยตรง ปัจจุบันประเทศไทยได้ออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองการโจรกรรมออนไลน์จากอาชญากรไซเบอร์ ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการสืบสวนสอบสวน และรับมืออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อีกด้วย

วิธีการป้องกันการถูกแฮก

สิ่งสำคัญในการป้องกันการถูกโจรกรรมออนไลน์ให้ปลอดภัยจากเหล่าแฮกเกอร์ คือ การป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประจำตัวประชาชน บัตรเครดิต และบัญชีธนาคาร เช่น ในการสั่งของออนไลน์ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อ – นามสกุลจริง โดยอาจตั้งเป็นนามสมมุติ สิ่งสำคัญประการถัดมา คือ การสร้าง ACCOUT หลุม หรือ ACCOUT ที่ไร้ตัวตนบน SOCIA MEDIA เพราะระบบอัลกอลิทึม หรือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จะบันทึกข้อมูลไว้ใน COULD ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้ ดังนั้น หากไม่จำเป็นไม่ควรสร้าง ACCOUT หลาย ๆ อัน โดยไม่มีความจำเป็น

บทสรุป

ปัจจุบันในยุคแห่งการที่ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่าง ๆ ต้องดำเนินการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการ และการจัดเก็บข้อมูล แต่สิ่งเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม ซึ่งหากถูกขโมยข้อมูลจากเหล่าแฮกเกอร์ แน่นอนว่าย่อมก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอย่างมหาศาล ดังข่าวที่เกิดขึ้นให้เห็นแทบทุกวันในปัจจุบัน และหากเกิดคดีเหล่านี้ขึ้นแล้วย่อมยากที่จะตามตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษ เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นอยู่บนโลกออนไลน์ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือการรู้จักระวังป้องกันการถูกแฮกข้อมูล

Share To :

Facebook
Twitter
Pinterest
Email